หลักสูตร
ข้อมูลทั่วไป
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education Program in Computer
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ครุศาสตรบัณฑิต (คอมพิวเตอร์)
ชื่อย่อ : ค.บ. (คอมพิวเตอร์)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Education (Computer)
ชื่อย่อ : B.Ed. (Computer)
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์
1. ปรัชญาของหลักสูตร
ผลิต พัฒนาครูและบุคลากรทางดานคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ มีความรูคูคุณธรรม นําสูการพัฒนาทองถิ่น
2. ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอน มุ่งเน้นการเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาในศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีความสุข
3. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีวัตถุประสงค์ในการผลิต พัฒนา ครูและบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์ ให้มีคุณสมบัติที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
3.1 มีความรูความสามารถ ทักษะ ความชํานาญดานคอมพิวเตอร์ สามารถประยุกตใชในการประกอบอาชีพ และศึกษาตอในระดับสูงได
3.2 มีทักษะในการสอนที่ผสมผสานศาสตร์ในการใช้คอมพิวเตอร์จัดการหลักสูตรการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์
3.3 เปนพลเมืองดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะชีวิต ทักษะการคิด การแกปญหา การเผชิญสถานการณและรูเทาทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกปจจุบัน
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
1) มีคุณธรรม มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีจรรยาบรรณวิชาชีพครู และมีความรับผิดชอบสูงต่อวิชาการ วิชาชีพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
2) มีความอดทน ใจกว้างและมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งการทำงานร่วมกันกับผู้เรียนและผู้ร่วมงานทุกกลุ่ม
3) มีความรอบรู้และมีความสามารถประยุกต์ความเข้าใจอันถ่องแท้ในทฤษฎี และระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่
4) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา และข้อโต้แย้งโดยการแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการแสวงหาทางเลือกใหม่ที่เหมาะสมและปฏิบัติได้
5) มีความสามารถในการพิจารณาแสวงหา และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาทางวิชาการ วิชาชีพและสังคมอย่างมีเหตุผลที่สมเหตุสมผล โดยการบูรณาการศาสตร์แบบสหวิทยาการและพหุวิทยาการเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
6) มีความสามารถในการติดตามพัฒนาการของศาสตร์ทั้งหลาย และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสมรรถนะของตนอยู่เสมอ
มาตรฐานผลการเรียนรู้
5.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1) แสดงออกซึ่งพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีคุณธรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีความเข้าใจผู้อื่น เข้าใจโลกมีจิตสาธารณะ เสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดี
2) สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครูเชิงสัมพัทธ์โดยใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม ความรู้สึกของผู้อื่น และประโยชน์ของสังคมส่วนรวม
5.2 ด้านความรู้
1) มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาที่จะสอน อย่างกว้างขวางลึกซึ้ง และเป็นระบบ
2) มีความตระหนักรู้หลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการ ทั้งการบูรณาการข้ามศาสตร์ และการบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริง
3) มีความเข้าใจความก้าวหน้าของความรู้เฉพาะด้านในสาขาวิชาที่จะสอนอย่างลึกซึ้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยและการวิจัยในการต่อยอดความรู้
4) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานวิชาชีพครูอย่างมีประสิทธิภาพ
5.3 ด้านทักษะทางปัญญา
1) สามารถคิดค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ และประเมินข้อมูลสารสนเทศและแนวคิดจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน การวินิจฉัย แก้ปัญหา และทำการวิจัยเพื่อพัฒนางานและพัฒนาองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
2) สามารถคิดแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน เสนอทางออก และนำไปสู่การแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความรู้ทางภาคทฤษฎี ประสบการณ์ภาคปฏิบัติ และผลกระทบจากการตัดสินใจ
3) มีความเป็นผู้นำทางปัญญาในการคิดพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ และการพัฒนาศาสตร์ทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ รวมทั้งการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างมีนวัตกรรม
5.4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
1) มีความไวในการรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น เข้าใจผู้อื่น มีมุมมองเชิงบวก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และทางสังคม
2) มีความเอาใจใส่ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มและระหว่างกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์
3) มีภาวะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
5.5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1) มีความไวในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ หรือคณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้ หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
2) มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจที่ดีในการประมวลผล แปลความหมาย และเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
3) มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูด การเขียน และนำเสนอด้วยรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับบุคคลและกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน
5.6 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
1) มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ที่มีรูปแบบหลากหลาย ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการ (Formal) รูปแบบกึ่งทางการ (Non-formal) และรูปแบบไม่เป็นทางการ (Informal) อย่างสร้างสรรค์
2) มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้สำ หรับผู้เรียนที่หลากหลาย ทั้งผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ ผู้เรียนที่มีความสามารถปานกลาง และผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษอย่างมีนวัตกรรม
3) มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ในวิชาเอกที่จะสอนอย่างบูรณาการ
ความต้องการของท้องถิ่น/ตลาดแรงงาน
ครูคอมพิวเตอร์เป็นที่ต้องการของตลาดและท้องถิ่น ซึ่งแนวโน้มความต้องการครูในสาขาวิชาต่างๆ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานใน 10 ปีข้างหน้าพบว่าครูสาขาคอมพิวเตอร์ขาดแคลนจำนวน 6,015 อัตรา เนื่องจากทุกโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และเตรียมความพร้อมสู่อาเซี่ยน ซึ่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่มีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
อัตลักษณ์/จุดเด่นของหลักสูตร
ผลิตครูคอมพิวเตอร์เพื่อสอนในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา เน้นการสอนในโรงเรียนในท้องถิ่น บัณฑิตมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งในหลักสูตรมีรายวิชาที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ เทคโนโลยีไร้สายและการประยุกต์ใช้งาน เว็บช่วยสอน หลักสูตรประกอบด้วยวิชาครูและวิชาเอก ในศาสตร์ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จึงมีลักษณะเป็นสหวิทยาการซึ่งเชื่อมโยงและบูรณาการกันเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ซึ่งจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. ครู
2. บุคลากรทางการศึกษา
3. เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมทางด้านคอมพิวเตอร์
4. การประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)